2015-11-07

แนวทางการบริหารยา Nitroglycerin inj.

Nitroglycerin injection 50 mg/10 ml

Pregnancy category: C 

การเก็บรักษา/ความคงตัว 

ควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 25 ํC ป้องกันแสง ยาที่เหลือหลังจากเปิดใช้แล้วให้ทิ้งไป โดยยาที่ผสมแล้วบรรจุในภาชนะแก้วหรือพลาสติกชนิด polyolefin หรือ polyethylene (ห้าม PVC) เก็บได้ 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง

ข้อบ่งใช้ / ขนาดยา/วิธีใช้

Angina pectoris, Hypertensive emergencies


เด็ก แนะนำ IV : เริ่มต้น 0.25-0.5 mcg/kg/min
MAX 5 mcg/kg/min ในกรณีโรคหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจขาดเลือดที่มี complication
MAX 60 mcg/kg/min ในกรณี Pulmonary edema

ผู้ใหญ่ แนะนำ IV : เริ่มต้น 5 mcg/min หลังจากนั้นปรับตาม response (เพิ่มขนาดครั้งละ 5 mcg/min ทุก 3-5 นาที)
จนถึง 200 mcg /min

ผู้สูงอายุ : แนะนำขนาดยาเหมือนผู้ใหญ่แต่ควรใช้ขนาดต่ำเนื่องจาก อาจเกิด postural hypotension
**** IV ความเข้มข้นสุดท้ายไม่ควรเกิน 400 mcg/mL และควรใช้ infusion pump เพื่อได้ rate ที่ถูกต้อง ****
ข้อห้ามใช้: Angina pectoris ที่เกิดจาก hyper tropic obstructive cardiomyopathy, ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม  phosphodiesterase type-5 2 inhibitors เช่น sildenafil, ผู้ที่แพ้ยา, ความดันในสมองสูงหรือมีภาวะโลหิตจางรุนแรง

อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ ความดันโลหิตต่ำ, วิงเวียน,  ใจสั่น,  ปวดศีรษะ , cyanosis

การเตรียมยา: สารที่ใช้เจือจาง คือ D5W หรือ NSS ผสมยาและบริหารยาในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดแก้วหรือพลาสติกชนิด  polyolefin หรือ polyethylene เท่านั้น (ห้าม PVC) เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกจะดูดซับยาไว้ที่ผิว

การผสม
NTG 1amp มียา 50 mg / 10 cc (5 mg =1cc)
NTG 1:1 = NTG 20 cc (100 mg) + 5 DW 100 cc
NTG 1:2 = NTG 10 cc (50 mg) + 5 DW 100 cc
NTG 1:5 = NTG 4 cc (20 mg) + 5 DW 100 cc
NTG 1:10 = NTG 2 cc (10 mg) + 5 DW 100 cc

การติดตามผล Monitor : ทุก15 นาที หลังให้ยาใน 30 นาทีแรก หลังจากนั้นทุก 1 ชั่วโมง
1. Hypotension BP ผู้ใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 90/60 mmHg
2. Bradycardia HR ผู้ใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที
3. Reflex tachycardia HR ผู้ใหญ่ ไม่เกิน 100 ครั้ง/นาที
Critical point (ให้รายงานแพทย์): BP<90/60 mmHg, heart rate<60/min

การป้องกัน/แก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา 
อาการพิษ : ความดันโลหิตต่ำ หน้าแดง หมดสติ ปวดหัว หัวใจเต้นเร็ว methemoglobin ความดันในสมองเพิ่มขึ้น สับสน เวียนศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หอบ Heart block หัวใจเต้นช้า
- ให้การรักษาแบบประคับประคองและรักษาตามอาการ
 -  ถ้าเกิดภาวะ blurred vision หรือปากแห้งให้หยุดยา
 -  ถ้าเกิด hypotension อย่างรุนแรงและ reflex tachycardia หรือ pulmonary wedge pressure ลดลง
     * ให้ลดอัตราเร็วของการให้ยาลง หรือหยุดชั่วคราว
     * ให้นอนหงาย ปรับศีรษะต่ำลง ให้ IV fluid
     * ให้ Oxygen และเครื่องช่วยหายใจ
     * ห้ามใช้ Epinephrine, Dopamine
References :

แนวทางการบริหารยา Norepinephrine (Levophed) inj.

Norepinephrine (Levophed) 1 mg/mL (4 mL) 

- Pregnancy category: C 

ขนาดและวิธีการบริหารยาโดยทั่วไป 

การให้ยาแบบ continuous I.V. infusion
เด็ก : ขนาดเริ่มต้น 0.05 – 0.1 mcg/kg/min เพิ่มขนาดจนได้ผลที่ต้องการ; maximum dose 2 mcg/kg/minผู้ใหญ่ : ขนาดเริ่มต้น 0.5 – 1.0 mcg/min เพิ่มขนาดจนได้ผลที่ต้องการ; โดยทั่วไปอยู่ในช่วง 8 – 30 mcg/min
Hypotension, shock and cardiopulmonary resuscitation
เด็ก : ขนาดเริ่มต้น 0.1 mcg/kg/min แล้วค่อยๆ เพิ่มอัตราการหยดยาได้ถึง 2 mcg/kg/min
ผู้ใหญ่ : ขนาดเริ่มต้น 8 – 12 mcg/min (maximum dose : 30 mcg/min)

การผสม ความคงตัวของยา และความเข้ากันได้
  • เจือจางยาด้วย D5W หรือ D5S ปริมาตร 100 mL ไม่แนะนำให้เจือจางใน NSS เดี่ยวๆเพื่อป้องกันการสูญเสียความแรงของยาจากปฏิกิริยา oxidation
  • ห้ามให้ในสาย I.V. เดียวกันกับเลือดและพลาสมา หรือสารละลายที่เป็นด่าง เช่น sodium bicarbonate 
  • สารละลายที่เจือจางแล้วจะมีความคงตัว 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง โดยเก็บให้พ้นแสง 
  • ห้ามใช้สารละลายที่ขุ่นหรือเปลี่ยนเป็นสีชมพู สีเหลืองเข้ม หรือสีน้ำตาล

ข้อปฏิบัติทางการพยาบาล

1. บริหารยาเข้าทางหลอดเลือดดำ โดยใช้ infusion pump เพื่อให้สามารถควบคุมการใช้ยาได้ดี
2. เริ่มให้ยาอย่างช้าๆและปรับเพิ่มตามความจำเป็นโดยต้องติดตามดูการตอบสนองของผู้ป่วย การหยุดยาต้องค่อยๆปรับลดลง ห้ามหยุดยาทันที เพื่อป้องกันภาวะความดันเลือดต่ำ
3. ควรให้ยาเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ตรง antecubital vein ที่ข้อศอกด้านในหรือให้ยาทางหลอดเลือดดำ femoral ที่หน้าขา ไม่ควรให้ยาโดยวิธี catheter tie-in เพราะจะทำให้เกิดยาคั่งเฉพาะที่
4. วัดความดันโลหิตและชีพจรทุก 2 นาที เมื่อเริ่มให้ยา และวัดทุก 15-30 นาทีเมื่อความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ต้องการ (ปกติไม่ต่ำกว่า 90/60 mmHg, SBP 80-100 mmHg หรือ SBP ไม่เพิ่มเกิน 40 mmHg)
5. หลีกเลี่ยงการผสมใน Alkaline solution เช่น KCl , NaHCO3
6. ดูแลการปรับอัตราหยดของยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
7. ควร Monitor EKG ขณะให้ยา บันทึก I/O ติดตามระดับความรู้สึกตัว ประเมิน tissue perfusion v/s ผู้ป่วย
9. รายงานแพทย์เมื่อ
  • Bradycardia; pulse < 60 BPM, Hypotension 
  • ปริมาณปัสสาวะลดลง < 0.5 ml/kg/hr 
  • มีการรั่วซึมของยาออกนอกเส้นเลือด อาการยาเกินขนาด: หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ และความดันสูงมาก
References :

แนวทางการบริหารยา Hydralazine Hydrochloride inj.

Hydralazine Hydrochloride

ชื่อการค้า : APRESOLINE® 20 mg INJ

ขนาดและวิธีการบริหารยาโดยทั่วไป
เด็ก  : ขนาดเริ่มต้น 0.1 – 0.5 mg/kg ให้ซ้ำได้ทุก 30-90 นาที; maximum dose 3.5 mcg/kg/day
ผู้ใหญ่ : ขนาดเริ่มต้น 5-10 mg ฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ ให้ซ้ำอีกควรให้ยาห่างกันเป็นเวลา 20-30  นาที อาจให้โดยหยดเข้าหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากอัตราเร็ว 200-300 mcg/min

การให้ยาแบบ  I.V. infusion, slow push 1-2 นาที

การผสมผงยา (Reconstitution)
- ผสมยาใน  SWFI  1 ml ควรใช้ทันทีหลังละลายยา
- ไม่ควรผสมกับ D5W เนื่องจากตัวยาจะถูกทำลายอย่างรวดเร็ว
- ความคงตัวและการเก็บรักษายา
- Single use only
- ยาที่ยังไม่เจือจางให้เก็บที่ อุณหภูมิน้อยกว่า 40 องศา และเก็บให้พ้นแสง
- Pregnancy Cat. C

อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น
-หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) หน้าแดง (flushing) ปวดศีรษะ (headache) และสั่น (tremor, palpitation)

References :

แนวทางการบริหารยา Streptokinase injection 1.5 mIU

Streptokinase injection 1.5 mIU

แนวทางการบริหารยา 

1. เก็บที่อุณหภูมิ 2-25 องศาเซลเซียส (ตู้เย็น)
2.ให้ยาทาง IV หรือ Intracoronary เท่านั้น (หลีกเลี่ยงการให้ IM)
3.ก่อนสั่งใช้ยา แพทย์ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับ โดยเฉพาะในรายที่มีเลือดออก หรือการใช้ร่วมกับยาที่มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด ได้แก่ aspirin,NSAIDS,Ticlopidine
4.สั่งใช้ยาอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยที่เคยใช้ Streptokinase ภายใน 1 ปี เพราะมีการสร้าง Streptokinase  antibody ขึ้น อาจจะลดประสิทธิภาพของยาและอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้

บทบาทของพยาบาล

1. ควรทดสอบปฏิกิริยาการแพ้ก่อนให้ยา โดยทำ Intradermal Skin Test. Streptokinase 100 IU หากไม่พบผลบวก หลังทดสอบ 15-20 นาที จึงสามารถให้ยาได้
2.วิธีเตรียมยา Streptokinase 1,500,000 IU (1 vial) ละลายใน 0.9%NSS 5 ml จนหมดโดยไม่ควรเขย่า เพราะทำให้เกิดฟองควรหมุนและเอียงขวดอย่างช้าๆแทน จากนั้นเจือจางด้วย NSS หรือ D5W 100 ml IV infusion ให้นานไม่ต่ำกว่า 60 นาที หลังผสมเก็บยาได้นาน 24 ชั่วโมงในตู้เย็น (2-8OC) 8 ชั่วโมงที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 OC
3.ในกรณีที่ต้องให้ยาโดยวิธี IV infusion ควรให้ยาผ่าน infusion pump และตรวจสอบเครื่องให้มีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ก่อนให้ยาควรตรวจสอบความถูกต้องของปริมาณยาที่ให้กับเวลาที่ใช้ในการให้ยาผ่านเครื่อง infusion pump
4. Monitor BP, PTT, aPTT, Platelet count, Hematocrit, Sign of bleeding ติดตามการเกิดภาวะเลือดออกอย่างใกล้ชิดทุก 15 นาที ใน 1 ชั่วโมงแรกที่ให้ยา หากเกิดอาการ เช่น ไอเป็นเลือด เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีจ้ำเลือดตามผิวหนังให้หยุดยา และอาจพิจารณาให้ Whole blood หรือ Pack Red cell
5.ไม่ควรผสมกับยาอื่น

การติดตาม

1. วัดและบันทึกสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัวทุก 5-10 นาที
2. ติดตาม vital signs
3. Monitor EKG
4. ติดตามการเกิดภาวะเลือดออกอย่างใกล้ชิด
5. ติดตามการเกิดการแพ้ Allergic reaction

References :