2016-03-23

แนวทางการบริหารยา Tetanus immunoglobulin (TIG)

ชื่อยาสามัญ : tetanus immunoglobulin (TIG)
ชื่อทางการค้า : TETANUS GAMMA
รูปแบบยา : solutions for injections or infusions
ความแรงของยา : 125 iu/1 ml

Human Tetanus  immunoglobulin (TIG)
TIG เป็น specific immune globulin ที่มี tetanus antitoxin ซึ่งเตรียมจากเลือดของคน
ที่จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคบาดทะยัก แบบ passive immunization  มีข้อดีคือ half life ยาว (28วัน) และเกิด
hypersensitivity น้อยกว่า equine tetanus antitoxin (TAT)
Administration : IM injection
Dose :
1.Postexposure prophylaxis of tetanus : Adult and Children ≥7years  : 250 units single dose, Children
<7years :  4 units/Kg (คำนวณตามน้ำหนัก)
ในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ และจำเป็นจะต้องได้รับยาในขนาดสูงอาจเพิ่มขนาดยาได้ถึง 500 IU ในกรณีต่อไปนี้
- บาดแผลติดเชื้อและไม่สามารถให้การรักษาได้ภายใน 24 ชั่วโมง
- บาดแผลลึก หรือบาดแผลที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย ปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงบาดแผลลดลง
หรือมีสิ่งแปลกปลอมต่างๆอยู่ในบาดแผล เช่น บาดแผลจากสุนัขกัด บาดแผลที่มีเหล็กในจากแมลงกัดต่อย
จากหนามต้นไม้ หรือจากการถูกยิง
2. Treatment of tetanus : 3000 – 6000 units

Adverse effect : ปวดบริเวณที่ฉีดและมีไข้ต่ำๆ , Angioneurotic edema
**สามารถฉีดพร้อมกับ tetanus toxoid (TT) ได้โดยแยกฉีดคนละข้าง
Storage : เก็บในตู้เย็น (อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส) และเก็บให้พ้นแสง ห้ามแช่แข็ง

References
1.Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug Information Handbook with International trade name index.
22th ed. Ohio: Lexi-comp Inc; 2013-2014.

2016-03-14

Fatal Drug Interaction - รพ.ท่าคันโท

FATAL DRUG INTERACTION คือคู่ยาที่มีรายงานการเกิดอันตรกิริยาระหว่างกันจนเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิต

เกณฑ์ที่ใช้กำหนดคู่ยาที่เป็น FATAL DI ได้แก่

1.มีรายงานการเสียชีวิตอันเป็นผลจากอันตรกิริยาระหว่างยา
2.มีระดับความมีนัยสำคัญทางคลินิกระดับ I
3.มีความรุนแรงอยู่ในระดับ Major ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตและเป็นสาเหตุของความเสียหายอย่างถาวร
4.มีระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลอยู่ในระดับน่าเชื่อถือโดยมี Well Crontrolled – Studies (Establised) และน่าจะใช่(Proable)

โดยแบ่ง Fatal DI ดังนี้
1.Contraindication Fatal Drug Interactionคือ คู่ยา Fatal DI ที่มีหลักฐาน ชัดเจนว่าทำให้เกิด ADR ที่รุนแรง อยู่ในระดับ Major ภายในเวลาอันรวดเร็ว (rapid) หลังการได้รับยาร่วมกัน หรือ มีข้อมูลอ้างอิงในหนังสือ Drug Interaction Facts ว่า เป็นคู่ยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกอยู่ในระดับ 1 ที่มีข้อห้ามในการใช้ยาร่วมกัน
2.Mornitoring Fatal Drug Interaction คือ คู่ยา Fatal DI ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าทำให้เกิด ADR ที่รุนแรงอย่างมีนัยสำคัญ ทางคลินิกระดับ 1 โดยอาจเกิด ADR ขึ้นอย่างรวดเร็ว (rapid) หรือช้า (delayed) ภายหลังการได้รับยาร่วมกัน แต่ สามารถป้องกันไม่ให้เกิด ADR ได้ถ้ามีการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด


คู่ยาที่เป็น FATAL DI รพ.ท่าคันโท
เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาระดับ 1
ลำดับ Drug I Drug II Effect Management
1 Aminoglycoside
(Gentamicin, Streptomycin)
Furosemide ผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Nephrotoxicity และ Ototoxicity ได้ ให้ Auto Stop ทันที
2 Digoxin Furosemide
Spironolactone
ยาขับปัสสาวะเพิ่มการขับ K, Mg ทางไต ซึ่งมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มปัจจัยต่อการเกิด digitalis -induced arrhythmias เฝ้าระวังภาวะ Electrolyte imbalance
3 Efavirenz Ergotamine Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) รบกวน hepatic metabolism (CYP3A4) ของ Ergot derivatives ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษของ ergot สูงขึ้น เช่น peripheral vasospasm, ischemia of the extremities ไม่ควรให้ร่วมกัน
4. Erythromycin Simvastatin Erythromycin ยับยั้งการ Inhibition of metabolism (CYP3A4) ของ Simvastatin ทำให้เกิด Severe myopathy, rhabdomyolysis ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้ Fluvastatin และ Pravastatin แทน เนื่องจากไม่ได้เกิด metabolized ผ่าน CYP3A4
5. Erythromycin Digoxin Macrolide antibiotic ยับยั้งการขับออกผ่าน renal tubular P-glycoprotein ของ Digoxin ทำให้ระดับ Digoxin ในเลือดสูงขึ้น จนเกิดพิษได้ โดยอันตรกิริยาที่เกิดขึ้นมีผลคงอยู่นานหลายสัปดาห์เมื่อใช้ร่วมกัน ติดตามระดับยา Digoxin และอาการของการเกิดพิษ
6. Erythromycin
Roxithromycin
Ergotamine Macrolide antibiotic รบกวน hepatic metabolism ของ Ergotamine ทำให้เกิด Acute ergotism ที่มีอาการ peripheral ischemia ได้ ติดตามและให้คำแนะนำอาการ ergotism แก่ผู้ป่วย และเตรียมการลดขนาด Ergot
Sodium nitroprusside มีประโยชน์ในการลด Macrolide-Ergot-induced vasospasm